MENU
ข้อมูลทั่วไป
    หน้าแรก
    สภาพทั่วไป
    โครงสร้าง OSM
    ข้อมูลพื้นฐาน
    ข้อมูลเพื่อการวางแผน
 
ทิศทางการพัฒนากลุ่ม
    Swot Analysis
    ทิศทางการพัฒนา
    ยุทธศาสตร์อนุภาค
     กลางตอนบน
 
ยุทธศาสตร์กลุ่ม
    ยุทธศาสตร์กลุ่ม
    แผนพัฒนากลุ่ม
    แผนปฏิบัติกลุ่ม
 
ติดตามประเมินผล
 
สถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์
Free Web Counter
เริ่มนับ 01 มกราคม 2552
 
รวมเว็บไซต์

ทิศทางการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2
(ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง)
 



                                                    
           จากการที่เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ในด้านการผลิตสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ทานตะวัน ข้าวโพด ถั่วเหลือง ปลาน้ำจืด ปลาสวยงาม โคเนื้อ โคนม ผักปลอดสารพิษ เนื่องจากมีการพัฒนาพื้นที่ชลประทานที่เป็นระบบโครงข่าย และเป็นพื้นที่แก้มลิงที่ใช้ประโยชน์ ในการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ มีระบบโครงข่ายทางถนนและทางน้ำ (ในลำน้ำเจ้าพระยาและป่าสัก) ที่เชื่อมต่อไปยังพื้นที่ต่างๆ ของประเทศและอยู่ในทำเลที่เป็น จุดกึ่งกลางของประเทศทำให้เหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นแหล่งผลิตและรวบรวมสินค้าการเกษตรเพื่อการส่งออก จึงมีทิศทางการพัฒนา ดังนี้            

           1.  การรักษาความมั่นคงทางอาหาร โดยการดูแลรักษาฐานทรัพยากรการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ที่ดินและแหล่งน้ำ กำหนดการใช้ที่ดินตามสมรรถนะของดิน และกำหนดมาตรการคุ้มครองป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ทำการเกษตรของโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน

           2.  สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หลักในพื้นที่ ด้วยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรและภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่เป็นที่ต้องการของตลาด พัฒนาการบรรจุภัณฑ์ พัฒนาสลากสรรพคุณ และการหาตลาดใหม่           

           3.  ส่งเสริมพัฒนาการใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้จากการผลิต เช่น มูลสัตว์ ฟางข้าว เพื่อทำเป็นพลังงานทดแทน อาทิ การหมักก๊าซใช้ในครัวเรือน ใช้ในการแปรรูปการเกษตรและอุตสาหกรรม            

            4.  พัฒนาเป็นฐานการผลิตอาหารส่งออก ประเภทธัญพืช พืชไร่ และปศุสัตว์ ให้ตรงความต้องการของตลาด โดยนำการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อพัฒนาการเกษตรและเพิ่มคุณภาพสินค้า

           5.  พัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรและความปลอดภัยของอาหาร โดยพัฒนากระบวน การผลิตเข้าสู่ระบบ Good Agricultural Practice(GAP) และ Good Manufacturing Practice (GMP) ด้วยการส่งเสริมกิจกรรมการเกษตรที่รักษาระบบนิเวศ เช่น เกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารพิษ รวมทั้งกระบวนการแปรรูปสินค้าเกษตร

           6.  พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพัฒนาการ บริการ ให้เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวกับแหล่งผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาและสนับสนุนแหล่งที่พักลักษณะโฮมสเตย์ในจุดท่องเที่ยว

           7. พัฒนาเส้นทางขนส่งตลอดลำน้ำ และจุดกระจายสินค้า โดยเร่งพัฒนาและฟื้นฟูเส้นทาง การขนส่งทางน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางน้ำ