MENU
ข้อมูลทั่วไป
    หน้าแรก
    สภาพทั่วไป
    โครงสร้าง OSM
    ข้อมูลพื้นฐาน
    ข้อมูลเพื่อการวางแผน
 
ทิศทางการพัฒนากลุ่ม
    Swot Analysis
    ทิศทางการพัฒนา
    ยุทธศาสตร์อนุภาค
     กลางตอนบน
 
ยุทธศาสตร์กลุ่ม
    ยุทธศาสตร์กลุ่ม
    แผนพัฒนากลุ่ม
    แผนปฏิบัติกลุ่ม
 
ติดตามประเมินผล
 
สถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์
Free Web Counter
เริ่มนับ 01 มกราคม 2552
 
รวมเว็บไซต์
การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอนุภาคกลางตอนบน


           ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การรักษาความมั่นคงทางอาหารและพัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าการเกษตรและความปลอดภัยของอาหาร
           ยุทธศาสตร์นี้มุ่งหมายที่จะให้มีการสงวนอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรมชั้นดีที่มีในพื้นที่อนุภาคกลางเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหาร
ของประเทศและมีส่วนสนับสนุนด้านนี้ในระดับโลกด้วยยุทธศาสตร์นี้นอกจากการคุ้มครองป้องกันพื้นที่เกษตรจากการบุกรุกของการใช้ประโยชน์
ที่ดินประเภทอื่น(ทั้งอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมือง)แล้วยังรวมไปถึง การจัดแบ่งพื้นที่ชัดเจนกันระหว่างพื้นที่การเกษตรเพื่อผลิตอาหาร
และพื้นที่การเกษตรเพื่อผลิตพลังงานทดแทนด้วย

           ยุทธศาสตร์ที่ 2 : จัดการระบบการบริหารจัดการแหล่งน้ำให้เกิดประโยชน์และปลอดภัย            
           ยุทธศาสตร์นี้มุ่งหมายที่จะให้มีการวางแผนบริหารจัดการแม่น้ำสายสำคัญของประทศที่พาดผ่านในพื้นที่อนุภาคให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ
โลจิสติกส์ทางด้านการคมนาคมขนส่งให้มากยิ่งขึ้นมีการปรับปรุงลำน้ำเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณน้ำได้มากยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการระบายน้ำ
และป้องกันอุทกภัยที่จะเกิดในตอนล่างของลำน้ำรวมทั้งการพัฒนาแหล่งพักน้ำ(แก้มลิง)ที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักอย่างที่เคยเป็นมา
จะเป็นการแก้ไขป้องกันปัญหาระดับภาคที่สำคัญประการหนึ่ง

           ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การส่งเสริมให้เกิดศูนย์กลางการกระจายสินค้าขึ้นในอนุภาค
           ยุทธศาสตร์นี้มุ่งหมายที่จะให้มีการพัฒนาบริเวณที่เป็นจุดตัดของเส้นทางคมนาคมสายหลักที่มีอยู่ปัจจุบันกับเส้นทางสายใหม่ที่เชื่อมต่อ
กรุงเทพมหานครกับท่าเรือทวายของประเทศเมียนมาร์และกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าระดับภูมิภาคศูนย์
์กระจายสินค้าใหม่นี้จะเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่รองรับการขนถ่ายสินค้าที่จะผ่านจากประเทศเพื่อนบ้านไปยังภูมิภาคต่างๆของประเทศโดยไม่จำเป็นที่
ี่ต้องเข้าสู่กรุงเทพมหานครเป็นการลดต้นทุนด้านการขนส่งและประหยัดพลังงานและเวลาส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและชุมชนเมืองอย่างมาก

           ยุทธศาสตร์ที่ 4: การสร้างสมดุลการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างเมืองกับชนบท
           ยุทธศาสตร์นี้มุ่งหมายที่จะให้มีการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเป็นระบบด้วยการวางผังเมืองจัดโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับประเภท
การใช้ประโยชน์เพื่อความประหยัดและแก้ปัญหาการกระจุกตัวของชุมชนที่มีในพื้นที่นี้อย่างหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ โดยจัดให้มีการ
บริหารจัดการอย่างเป็นกลุ่ม (Cluster) ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบทเชื่อมระบบเมืองเข้าด้วยกันเพื่อให้มีการถ่ายเทความเจริญด้านเทคโนโลยี
และนวัตกรรมการพัฒนาสู่พื้นที่โดยรอบอย่างครบถ้วนและทั่วถึง

           ยุทธศาสตร์ที่ 5: การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
           ยุทธศาสตร์นี้มุ่งหมายที่จะให้มีความเข้มงวดเป็นพิเศษในการอนุรักษ์ดินน้ำและอากาศของพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตอาหารเพื่อมิให้เกิดการ
ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมอันจะมีผลต่อการผลิตอาหาร และแหล่งที่อยู่อาศัยของผู้คนในการนี้ควรจัดให้มีการรวมตัวของโรงงานอุตสาหกรรมให้อยู่ใน
นิคมอุตสาหกรรมเท่านั้นเพื่อให้สามารถควบคุมมลพิษที่เกิดให้อยู่ในมาตรฐานที่เหมาะสมได้ไม่ส่งผลกระทบไปสู่วงจรในการผลิตอาหาร
ตามมาตรฐานโลก

           ยุทธศาสตร์ที่ 6: การส่งเสริมการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง            
           ยุทธศาสตร์นี้มุ่งหมายที่จะให้การพัฒนาพื้นที่ของอนุภาคกลางแต่ละด้านเป็นไปตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งถูกกำหนดไว้เป็น
หลักการสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ( พ . ศ . 2550-2554) ให้มีการกระจายอาชีพและรายได้ลงสู่พื้นที่บนฐาน
ทรัพยากรที่มีทั้งตำแหน่งที่ตั้งของเมือง ชุมชนชนบท และกิจกรรมการผลิตอย่างมีเหตุผลตามความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเน้นการเติบโต
พร้อมกันในทุกด้านอย่างสมดุลและสอดคล้องกัน ทั้งการผลิตและการดำรงชีวิตของประชาชนที่ประหยัดไม่สิ้นเปลือง เพื่อที่ประชาชนทั้งหมด
มีการพัฒนาสุขภาพที่ดี ทั้งกายและใจมีวัฒนธรรมศีลธรรมระดับสูงร่วมกับการส่งเสริมการพึ่ง ตนเองและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น

           ยุทธศาสตร์ที่ 7: การจัดระบบการพัฒนารองรับการกระจายความเจริญจากกรุงเทพฯ
           ยุทธศาสตร์นี้มุ่งหมายที่จะให้มีการใช้กระบวนการวางแผนผังเมืองมาตรการเพื่อชี้นำการจัดระบบการพัฒนาพื้นที่ในการรองรับ
ยุทธศาสตร์การกระจายความเจริญออกจากกรุงเทพมหานครเพราะพื้นที่อนุภาคกลางเป็นพื้นที่เป้าหมายของยุทธศาสตร์การกระจายตัวนี้
ในการนี้ควรมีการนำมาตรการควรคุมทางผังเมืองมาใช้เพื่อชี้นำการพัฒนาเมืองการฟื้นฟูการอนุรักษ์และการพัฒนาเมืองขึ้นใหม่
มาตรการควบคุมมาตรฐานการจัดสรรที่ดินและการใช้กฎหมายควบคุมอาหารการจัดย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินมาปรับใช้ให้ครอบคลุม
พื้นที่ทุกตารางนิ้วของพื้นที่อนุภาค โดยคำนึงถึงการใช้พื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพและให้เกิดประโยชน์สูงสุด

           เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่อนุภาค
          
เป้าหมายในภาพรวมของการพัฒนาพื้นที่อนุภาคกลางทั้ง 8 จังหวัด คือ ความสามารถในการรองรับความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 30 ปีข้างหน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เป็นพื้นที่ที่มีระบบเศรษฐกิจที่เป็นส่วนประสานและส่งเสริมกับระบบเศรษฐกิจของอนุภาคกรุงเทพฯและ
ปริมณฑลอย่างแน่นแฟ้น และแต่ละจังหวัดสามารถสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงตามศักยภาพมีระบบการคมนาคมขนส่งเป็นโครงข่ายเชื่อมโยง
ถึงกันทุกพื้นที่ และเชื่อมต่อกับโครงข่ายของภูมิภาคสู่ทุกภาคและประเทศเพื่อนบ้านมีระบบเมืองและชนบทที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพสูง ส่งผลให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่อาศัย และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี